ระบบนิเวศ (Ecosystem) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่แหล่งอาศัยเดียวกัน และมีความสัมพันธ์กันกับสิ่งแวดล้อม
กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Ecommunity) หมายถึง สิ่งมีชีวิตตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปอาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยเดียวกัน และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่สุดคือ โลกของเรา ประกอบด้วย ระบบนิเวศขนาดเล็กหลาย ๆ ระบบจึงเรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere)
สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างทีอยู่รอบตัวเราทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต คนก็เป็นสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน และจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสิ่งแวดล้อม
ระบบนิเวศสามารถจำแนกออกเป็นกลุ่มๆได้ดังนี้
1. ระบบนิเวศทางธรรมชาติและใกล้ธรรมชาติคือ ระบบที่ต้องพึ่งพลังงานจากดวงอาทิตย์เพื่อที่จะทำงานได้
2. ระบบนิเวศเมืองและอุตสาหกรรม คือ ระบบที่ต้องพึงแหล่งพลังงานเพิ่มเติม เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง
3. ระบบนิเวศเกษตร คือ ระบบที่มนุษย์ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทางธรรมชาติขึ้นมาใหม่
องค์ประกอบของระบบนิเวศ ระบบนิเวศมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ คือ
1. ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต(abiotic component ) แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.1 อนินทรียสารเช่น คาร์บอน ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและออกซิเจน เป็นต้น
1.2 อินทรีย์สารเช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และฮิวมัส เป็นต้น
1.3 สภาพแวดล้อมทางกายภาพเช่น แสง อุณหภูมิ ความเป็นกรด เป็นด่างความเค็มและความชื้น เป็นต้น
1.2 อินทรีย์สารเช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และฮิวมัส เป็นต้น
1.3 สภาพแวดล้อมทางกายภาพเช่น แสง อุณหภูมิ ความเป็นกรด เป็นด่างความเค็มและความชื้น เป็นต้น
2. ส่วนประกอบที่มีชีวิต(biotic component) แบ่งออกได้เป็น
2.1 ผู้ผลิต(producer) คือ พวกที่สามารถนำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสังเคราะห์อาหาร
ขึ้นได้เองจากแร่ธาตุและสสารที่มีอยู่ตามธรรมชาต ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงค์ตอนพืช และแบคทีเรียบางชนิด พวกผู้ผลิตนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นส่วนเริ่มต้นและเชื่อมต่อระหว่างส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิตอื่นๆ ในระบบนิเวศ
2.2 ผู้บริโภค(consumer) คือ พวกที่ได้รับอาหารจากการกินสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกทอดหนึ่ง ได้
แก่ พวกสัตว์ต่างๆ แบ่งได้เป็น
- ผู้บริโภคปฐมภูมิ (primary consumer) เป็นสิ่งมีชีวิตทีกินพืชเป็นอาหาร เช่น กระต่าย วัว ควาย และปลาที่กินพืชเล็กๆ ฯลฯ
- ผู้บริโภคทุติยดภูมิ (secondary consumer) เป็นสัตว์ที่ได้รับอาหารจากการกินเนื้อสัตว์
ที่กินพืชเป็นอาหารเช่น เสือ สุนัขจิ้งจอก ปลากินเนือ้ ฯลฯ
- ผู้บริโภคตติยภูมิ (tertiary consumer) เป็นสัตว์ทีกินทั้งสัตว์ กินพืช และสัตว์กินสัตว์
นอกจากนี้ ยังได้แก่สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระดับขั้นการกินสูงสุด ซึ่งหมายถึงสัตว์ที่ไม่ถูก
กินโดยสัตว์อื่นๆ ต่อไป เป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสุดท้ายของการกินเป็นอาหาร เช่น มนุษย์
- ผู้บริโภคปฐมภูมิ (primary consumer) เป็นสิ่งมีชีวิตทีกินพืชเป็นอาหาร เช่น กระต่าย
- ผู้บริโภคทุติยดภูมิ (secondary consumer) เป็นสัตว์ที่ได้รับอาหารจากการกินเนื้อสัตว์
- ผู้บริโภคตติยภูมิ (tertiary consumer) เป็นสัตว์ทีกินทั้งสัตว์ กินพืช และสัตว์กินสัตว์
2.3 ผู้ย่อยสลาย (decomposers) เป็นพวกที่ไม่สามารถปรุงอาหารได้แต่จะกินอาหารโดยการ
ผลิตเอนไซน์ออกมาย่อยสลายแร่ธาตุต่างๆ ในส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตให้เป็นสาร โมเลกุลเล็ก แล้วจึงดูดซึมไปใช้เป็น
สารอาหารบางส่วน ส่วนที่เหลือปลดปล่อยออกไปสู่ ระบบนิเวศ ซึ่งผู้ผลิตจะสามารถเอาไปใช้ต่อไป
จึงนับว่าผู้ย่อยสลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำ ให้สารอาหารสามารถหมุนเวียนเป็นวัฏจักรได้
สารอาหารบางส่วน ส่วนที่เหลือปลดปล่อยออกไปสู่
จึงนับว่าผู้ย่อยสลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำ
การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ
ปัจจัยที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ คือ พลังงาน (Energy) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. พลังงานศักย์ ( Potential Energy) คือ พลังงานเคมีที่แฝงอยู่ในโมเลกุลของสารเป็นพลังงานที่สะสมไว้พร้อมที่จะนำไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ทันทีที่ได้รับการกระตุ้น
2. พลังงานจลน์ (Einetic Energy ) คือ พลังงานที่เกิดขึ้นในขณะที่สิ่งนั้นทำกิจกรรมต่างๆมีได้หลายรูปแบบ เป็นพลังงานที่เปลี่ยนมาจากพลังงานศักย์
แบบของห่วงโซ่อาหาร (Type of food Chain)
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
ปัจจัยต่าง ๆ ในระบบนิเวศที่มีผลทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological Factors) หมายถึง ปัจจัยที่เป็นสิ่งมีชีวิตในด้านชนิดและปริมาณที่มีความสัมพันธ์กันทางด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งความสัมพันธืของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ อาจเป็นความสัมพันธ์กันในกลุ่มสิ่งมีชีวิตเดียวกัน เช่นการอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ฝูง โขลง เช่น ช้าง ลิง ต่อ แตน มด ทั้งยังมีผลดีและผลเสีย ผลดีคือช่วยลดอัตราการสร้างศัตรูช่วยให้เกิดการจัดระบบภายในกลุ่ม และเพิ่มโอกาสในการเพิ่มจำนวนสิ่งมีชีวิตแต่ก็มีข้อเสียคือ ทำให้เกิดการแข่งขันในด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย
นอกจากนี้ สิ่งมีชีวิตต่างงชนิดยังสามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ด้วยกัน ด้วยการมีความสัมพันธ์แบบต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน(Photocooperation +/+) เป็นการที่สิ่งมีชีวิต 2 ชนิด มาอาศัยอยู่รวมกัน
โดยต่างฝ่ายก็ได้รับประโยชน์ ตัวอย่างเช่น นกเอี้ยงกับควาย มดดำกับเพลี้ยแป้ง ปลาการ์ตูนกับแอนนิโมนี
โดยต่างฝ่ายก็ได้รับประโยชน์ ตัวอย่างเช่น นกเอี้ยงกับควาย มดดำกับเพลี้ยแป้ง ปลาการ์ตูนกับแอนนิโมนี
1.2 ภาวะที่ต้องพึ่งพา(Mutualism+/+) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดอยู่รวมกัน
ซึ่งต่างฝ่ายก็ต่างได้รับประโยชน์ แต่ต้องอาศัยอยู่ด้วยกันตลอดชีวิต ถ้าแยกออกจากกันสิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดจะต้องดำรงชีวิตไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ไลเคน เป็นการอยู่ร่วมกันของราและสาหร่าย โดยราได้อาหารจากสาหร่ายก็ได้ความชื้นจากรา โดยสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โปรโตซัวในลำไส้ปลวก ปลวกไม่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสจากไม้ที่ปลวกกินเข้าไป ส่วนโปรโตซัวในลำไส้ปลวกจึงอาศัยโปรโตซัวในการช่วยย่อย และโปรโตซัวก็ได้รับอาหารด้วย
ซึ่งต่างฝ่ายก็ต่างได้รับประโยชน์ แต่ต้องอาศัยอยู่ด้วยกันตลอดชีวิต ถ้าแยกออกจากกันสิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดจะต้องดำรงชีวิตไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ไลเคน เป็นการอยู่ร่วมกันของราและสาหร่าย โดยราได้อาหารจากสาหร่ายก็ได้ความชื้นจากรา โดยสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โปรโตซัวในลำไส้ปลวก ปลวกไม่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสจากไม้ที่ปลวกกินเข้าไป ส่วนโปรโตซัวในลำไส้ปลวกจึงอาศัยโปรโตซัวในการช่วยย่อย และโปรโตซัวก็ได้รับอาหารด้วย
1.3 ภาวะมีการเกื้อกูลหรืออิงอาศัย (Commensalism +/0) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่อีกฝ่ายได้ประโยชน์อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ประโยชน์และไม่แสียประโยชน์ ตัวอย่างเช่น พลูต่างเกาะต้นไม้ใหญ่ เหาฉลามกับปลาฉลาม
1.4 ภาวะการล่าเหยื่อ (Predation +/-) เป็นความสัมพันธ์ที่อีกฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์โดย
การจับอีกฝ่ายหนึ่งกินอาหารซึ่งเรียกว่า “ผู้ล่า” ส่วนฝ่ายที่ถูกจับกินเรียกว่า “เหยื่อ” ตัวอย่างแมลงที่ถูกพืชพวกว่านกาบหอยแครงที่มีลักษณะเหมือนกับดักจับกิน เสือไล่จับสัตว์ที่เล็กกว่ากินเป็นอาหาร
การจับอีกฝ่ายหนึ่งกินอาหารซึ่งเรียกว่า “ผู้ล่า” ส่วนฝ่ายที่ถูกจับกินเรียกว่า “เหยื่อ” ตัวอย่างแมลงที่ถูกพืชพวกว่านกาบหอยแครงที่มีลักษณะเหมือนกับดักจับกิน เสือไล่จับสัตว์ที่เล็กกว่ากินเป็นอาหาร
1.5 ภาวะมีปรสิต (Parasitism +/-) เป็นความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งแย่งอาหารสิ่งมีชีวิตถูกแย่งอาหารเรียกว่า เจ้าบ้าน หรือผู้ถูกอาศัย และสิ่งมีชีวิตที่แย่งอาหารเรียกว่า ปรสิต ตัวอย่างเช่น กาฝากกับต้นไม้ หมัดกับสุนัข
1.6 ภาวะมีการแข่งขัน (Competition -/-) เป็นความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดต่างเสียประโยชน์ อาจเป็นการแข่งขันกันในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เช่นกการปลูกพืชที่ปลูกเมล็ดโดยการหว่านเมล็ด
เป็นจำนวนมากต้องแย่งกันขึ้นจึงไม่มีต้นใดสมบูรณืเพราะอาหารมีจำกัด หรือมีการแข่งขันกันในสิ่งมีชีวิตต่างนิดกัน เช่น ต้นกล้าในนาข้าว
เป็นจำนวนมากต้องแย่งกันขึ้นจึงไม่มีต้นใดสมบูรณืเพราะอาหารมีจำกัด หรือมีการแข่งขันกันในสิ่งมีชีวิตต่างนิดกัน เช่น ต้นกล้าในนาข้าว
1.7 ภาวะการหลั่งสารยับยั้งการเจริญเติบโตหรือทำลายล้าง( Antibiosis 0/-) เป็นความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่อาศัยอยู่ไกล้กันโดยฝ่ายหนึ่งสร้างสารออกมายับยั้งการเจริญเติบโตหรือฆ่าอีกฝ่ายหนึ่ง โดยสารนั้นไม่มีอันตรายต่อผู้สร้าง เช่น ราเพนนิซิลเลียม
1.8 ภาวะเป็นกลาง(Nutralism 0/0) เป็นการอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด แบบสันติโดยไม่มีฝ่ายใดได้หรือเสียประโยชน์
2. ปัจจัยทางกายภาพ(Physical Factors) หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตในแหล่งที่อยู่อาศัย
ที่มีผลต่อการดำรงค์ชีวิตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศซึ่งได้แก่
ที่มีผลต่อการดำรงค์ชีวิตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศซึ่งได้แก่
2.1 อุณหภูมิ (Temperature)
2.2 แสงสว่าง (Light)
2.3 น้ำแและความชื้น (Water And Humidity)
2.4 ก๊าซในบรรยากาศ( Amospheric Gasses)
2.5 ความเป็นกรดเบส
2.6 เกลือแร่
2.7 กระแสน้ำและความดัน
2.8 ดิน (Siol)
2.9 ไฟ (Fire Factor)
ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ
ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง ความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ความหลากหลายดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
ความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ
1.ความหลากหลายในระบบนิเวศ (Ecosytem diversity) หมายถึงความหลากหลาย ความสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีผลทำให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
2. ความหลากหลายทางพันธุกรรม ( Genetic Diveerity ) หมายถึงความแตกต่างทางพันธุกรรม หรือองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งมีชีวิตที่ได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ จะมีประโยชน์มากสำหรับการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ เพื่อเพิ่มผลผลิต
3. ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (Species Diversity) หมายถึงความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ที่กระจายตามส่วนต่าง ๆ ของโลก
การหมุนเวียนสารที่สำคัญในระบบนิเวศ
วัฏจักรของคาร์บอน
วัฏจักรของไนโตรเจน
วัฏจักรฟอสฟอรัส
วัฏจักรของน้ำ
วัฏจักรของน้ำ