ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต

สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 
องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตทุกอย่างที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น แสงสว่างอุณหภูมิ แร่ธาตุ ความชื้น อากาศและก๊าซต่างๆ ความเป็นกรด-เบสของดินและน้ำ ความเค็ม กระแสลม กระแสน้ำ จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในระบบนิเวศ และจะมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ


แสงสว่าง


แสงสว่าง
 
แสงจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานที่มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก ปริมาณแสงในธรรมชาติแต่ละแห่งจะแตกต่างกันทำให้สิ่งมีชีวิตในแต่ละแห่งแตกต่างกันไป พืชต้องการแสงจากดวงอาทิตย์มากกว่าสัตว์ พืชใช้แสงเป็นพลังงานในกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างสารอาหาร สารอาหารสร้างขึ้นจะถ่ายทอดไปยังสัตว์ในห่วงโซ่อาหาร ความต้องการแสงของสิ่งมีชีวิตจะมีความแตกต่างกันทำให้พืชที่มีแสงสว่างส่องถึง จะมีความหนาแน่นมากกว่าบริเวณที่มีแสงส่องถึงน้อย พืชแต่ละชนิดต้องการแสงในปริมาณแตกต่างกัน
แสงจะมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ด้วยเช่นกัน สัตว์บางชนิดต้องการแสงน้อย มักอาศัยอยู่ในร่มเงาหรือในที่มืด เช่น ตัวอ่อนของแมลงในทะเลทรายซึ่งมีแสงมากในเวลากลางวัน สัตว์จะหลบซอนตัวและจะออกหากินในเวลากลางคืน ในทะเลลึกจะมีแสงสว่างน้อยมากหรือไม่มีเลย สัตว์จะมีอวัยวะที่ทำหน้าที่กำเนิดแสงได้เองเป็นต้น


อุณหภูมิ


อุณหภูมิ 

สิ่งมีชีวิตจะเลือกแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีอุณหภูมิเหมาะสมกับตัวเอง โดยปกติอุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 10-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิบนพื้นดินจะมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าในน้ำ จึงทำให้สิ่งมีชีวิตบนพื้นดินมีการปรับตัวในหลายลักษณะ เช่น การอพยพหนีหนาวของนกนางแอ่นจากประเทศจีนมาหากินในประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว การจำศีลของกบเพื่อหนีร้อนหรือหนีหนาว


แร่ธาตุและก๊าซ


แร่ธาตุและก๊าซ 
พืชและสัตว์นำแร่ธาตุและก๊าซต่างๆ ไปใช้ในการสร้างอาหารและโครงสร้างของร่างกาย ความต้องการแร่ธาตุและก๊าซของสิ่งมีชีวิตจะมีความแตกต่างกัน พืชต้องการออกซิเจนต่ำกว่าสัตว์เพราะสัตว์มีการเคลื่อนไหวกว่าพืช พืชต้องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าสัตว์เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง เป็นต้น
ก๊าซและแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ออกซิเจน คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ ซึ่งจะมีอยู่ในระบบนิเวศในปริมาณที่แตกต่างกัน ในดินจะมีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชพวกไนโตรเจนฟอสฟอรัส โพแทสเซียมในปริมาณสูง และปริมาณของแร่ธาตุดังกล่าวจะแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ด้วย จึงทำให้ลักษณะเฉพาะของพืชและสัตว์มีความแตกต่างกันด้วย


ความชื้น


ความชื้น
 
ปริมาณของไอน้ำที่อยู่ในอากาศ จะเปลี่ยนแปลงไปตามพื้นที่ ฤดูกาล เช่น ในเขตร้อนปริมาณความชื้นจะสูง เนื่องจากมีฝนตกอย่างสม่ำเสมอ ในเขตหนาวจะมีความชื้นน้อย ความชื้นจะมีผลโดยตรงต่อสมดุลของน้ำในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ทำให้ปริมาณ ชนิด และการกระจายของสิ่งมีชีวิตในเขตร้อนมีความหลากหลายมากกว่าในเขตหนาว

ความเค็ม


ความเค็ม
 

ความเค็มของดินและน้ำ เป็นปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ พืชบางชนิดไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตได้ในดินเค็มแต่บางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดี เช่น ผักบุ้งทะเล ในปัจจุบันพื้นที่ชายทะเลบางพื้นที่ประสบปัญหาเรื่องดินเค็ม อันเนื่องมาจากการทำนากุ้ง การทำนาเกลือ

กระแสลม


ลม คือ อากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณที่ที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่ที่มีความกดอากาศต่ำ  บริเวณเขตเส้นศูนย์สูตรเป็นเขตที่ได้รับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งปี อากาศจึงมีอุณหภูมิสูง  อากาศที่ร้อนนี้จะลอยตัวสูงขึ้นไปจนถึงด้านบนของชั้นบรรยากาศโทรโปสเฟียร์ ซึ่งอากาศจะลอยเกินระดับนี้ไม่ได้ อากาศร้อนนี้จึงกระจายตัวออก เคลื่อนที่ไปยังเขตขั้วโลกทั้งสองด้าน ปะทะกับอากาศที่เย็นกว่า ทำให้อุณหภูมิเริ่มลดลง เมื่อถึงเขตละติจูด 30° ทางตอนเหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร อากาศที่เย็นตัวก็จะจมลงกลับสู่ผิวโลก (ทำให้เกิดแรงกดอากาศเพิ่มขึ้น)  อากาศนี้จะมีความชื้นต่ำ ทำให้สภาพอากาศในบริเวณนั้นแห้งและปลอดโปร่ง  พื้นที่ทะเลทรายส่วนใหญ่ของโลกจะตั้งอยู่ในบริเวณที่ที่มีความกดอากาศสูงนี้

กระแสน้ำ


กระแสน้ำ 
กระแสน้ำเป็นปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตในน้ำ ความเข้มข้น ของก๊าซ และอาหารที่ละลายหรือลอยอยู่ในน้ำ พฤติกรรม จำนวนของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในแหล่งน้ำ ความเข้มข้นของก๊าซ และอาหารที่ละลายหรือลอยอยู่ในน้ำ


ความเป็นกรด-เบสของดินและน้ำ


ความเป็นกรด-เบสของดินและน้ำ
 

สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ในดินและแหล่งน้ำที่มีความเป็นกรด-เบส ของดินและน้ำที่เหมาะสม จึงจะสามารถเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ได้ตามปกติ ความเป็นกรด-เบสของดินและน้ำจะขึ้นอยู่กับปริมาณของแร่ธาตุที่ละลายปะปนอยู่
นน้ำ พฤติกรรม จำนวนของสิ่งมีชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหลจะแตกต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น